นอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

Last updated: 31 ต.ค. 2566  |  7996 จำนวนผู้เข้าชม  | 


นอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

“การนอนกรน แบ่งได้ 2 ชนิด คือ การนอนกรนชนิดไม่อันตราย (Simple snoring) และการนอนกรนชนิดอันตราย (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA)"

ซึ่งคนที่นอนกรนชนิดไม่อันตราย มักจะมีอาการนอนกรนเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เสียงกรนอาจดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับว่าเกิดจากบริเวณใด ถ้าเกิดเพราะมีเพดานอ่อนหย่อนหรือลิ้นไก่ยาวมักทำให้กรนเสียงดังมากโดยเฉพาะเวลานอนหงาย แต่ถ้ากรนจากการตึงแคบบริเวณโคนลิ้น เสียงมักเบาเหมือนหายใจแรงๆ ดังนั้น ความดังของเสียงกรนจึงไมได้ บอกว่าอันตรายหรือไม่ แต่ถ้ามีอาการหายใจสะดุด หยุดหายใจเหมือนคนหายใจไม่ออก หรือสำลัก อันนี้ถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายซึ่งมักพบในอาการนอนกรนชนิดอันตราย

ซึ่งอาการของโรคนอนกรนชนิดอันตราย นอกจากจะนอนกรนเสียงดัง มีอาการคล้ายสำลักหรือสะดุ้งตื่นกลางดึก ต้องลุกไปถ่ายปัสสาวะตอนกลางดึกแล้ว สมองจะรู้สึกตื้อ คิดอะไรไม่ออกเพราะง่วงนอน ขี้ลืม ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงาน ตื่นขึ้นมาด้วยอาการอ่อนล้า ไม่สดชื่น หรือปวดศีรษะ และต้องการนอนต่ออีกทั้งที่ไม่ได้นอนดึก บางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย อาทิ จุกแน่นคอเหมือนมีอะไรติดคอ หูอื้อ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห รวมทั้งมีความรู้สึกทางเพศลดลง

คนที่เป็นโรคนอนกรนชนิดอันตราย เมื่อยังหลับไม่สนิทอาจจะเป็นเพียงกรนปกติ แต่เมื่อหลับสนิทจะเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ มีลักษณะของการกลั้นหายใจ ตามด้วยการสะดุ้งหรือสำลักน้ำลาย หรือหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศ อาจเกิดขึ้นหลายสิบหรือหลายร้อยครั้งต่อคืน

ซึ่งในขณะที่มีการหยุดหายใจ ออกซิเจนในเลือดแดงจะลดต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจ หลอดเลือด ปอด และสมอง ต่อมาเมื่อออกซิเจนในเลือดแดงลดต่ำลงมากจนถึงจุดอันตราย ร่วมกับมีการหายใจที่แรงมาก จนต้องใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจเพื่อพยายามให้ลมหายใจสามารถผ่านตำแหน่งที่ตีบตันไปให้ได้ ภาวะนี้จะกระตุ้นให้สมองที่กำลังหลับสนิทอยู่ต้องตื่นขึ้นมา ทางเดินหายใจจะถูกเปิดขึ้น และทำให้ออกซิเจนสามารถผ่านเข้าไปในปอดได้อีก ตอนนี้เองออกซิเจนในเลือดแดงจะกลับมาสูงขึ้น แต่หลังจากนั้นไม่นาน สมองจะเริ่มหลับอีก การหายใจก็จะเริ่มขัดข้องอีกครั้ง วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นนี้ไปตลอดคืน ทุกคืน ส่งผลให้สมรรถภาพการนอนหลับเสียไป เนื่องจากมีช่วงเวลาของการนอนหลับสนิทน้อยเกินไป ผลเสียต่ออวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจ ระบบไหลเวียนเลือด สมอง และปอด จนทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม

นอนกรน, อาการนอนกรน, นอนกรนหยุดหายใจ, Sleep Apnea, OSA , Obstructive Sleep Apnea, หยุดหายใจขณะหลับ, pkhealthcare, CPAP, ResMed, ตัวแทนจำหน่าย ResMed, ศูนย์บริการ ResMed ประเทศไทย, ResMed ประเทศไทย, เครื่อง cpap, เครื่อง cpap ยี่ห้อไหนดี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้