คำถามที่พบบ่อย

คำถามทั่วไป

นอนกรนมี 2 ประเภท

ประเภทที่ 1 ชนิดไม่อันตราย

ส่งผลโยตรงต่อคนที่นอนร่วมห้องเป็นหลัก เป็นการนอนที่ส่งเสียงดังรบกวนคนที่นอนข้างๆ  ซึ่งอาจจะส่งผลต่อปัญหาชีวิตคู่

ประเภทที่ 2 ชนิดอันตราย

เป็นการนอนกรนทีมีภาะหยุดหายหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกลั้น เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณช่วงลำคอผ่อนคลายและตีบแคบในระหว่างที่เรานอนหลับ ทำให้การหายใจแบบปกติเกิดการติดขัด บางครั้งอาจมีการหยุดหายใจ 10 ถึง 20 วินาทีต่อครั้ง และสามารถเกิดขึ้นได้หลายร้อยครั้ง/คืน ซึ่งจะส่งผลให้ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดลดน้อยลง ซึ่งสมองก็จะได้รับออกซิเจนน้อยลงไปด้วย เมื่อสมองขาดออกซิเจนก็จะต้องคอยปลุกให้ผู้ป่วยตื่นเพื่อเริ่มหายใจใหม่ และเมื่อสมองได้รับออกซิเจนเพียงพอแล้ว ผู้ป่วยก็จะสามารถหลับลึกได้อีกครั้ง แต่ต่อมาการหายใจก็จะเริ่มขัดขึ้นอีก สมองก็ต้องปลุกตัวเองให้ตื่นขึ้นใหม่ วนเวียนเช่นนี้ตลอดคืน เป็นผลให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่เต็มที่

 ระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ  

ระดับน้อย (mild) มีค่าดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา (AHI) 5 -14 ครั้ง/ชั่วโมง และมีระดับออกซิเจนในเลือดที่ต่ำที่สุดขณะนอนหลับอยู่ในช่วง 86 – 90

ระดับปานกลาง (moderate) มีค่าดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา (AHI) 15 – 29 ครั้ง/ชั่วโมง และมีระดับออกซิเจนในเลือดที่ต่ำที่สุดขณะนอนหลับอยู่ในช่วง 70 – 85

ระดับรุนแรง (severe) มีค่าดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา (AHI) ≥ 30 ครั้ง/ชั่วโมง และมีระดับออกซิเจนในเลือดที่ต่ำที่สุดขณะนอนหลับ ≤ 69

หมายเหตุ: ท่านสามารถตรวจหาระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้จากการตรวจการนอนหลับ (sleep test)

 ผลกระทบของโรคนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถแบ่งได้เป็น  

ระยะสั้น

– ออกซิเจนในเลือดต่ำ

– ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

– ความจำไม่ดี สมาธิสั้น

– หงุดหงิดง่าย

– อุบัติเหตุรถยนต์เนื่องจากความง่วง หลับใน

– อ่อนเพลีย อาการซึมเศร้า

– สมรรถภาพทางเพศลดลง

– นอนไม่หลับ

– ปัญหาชีวิตครอบครัว

ระยะยาว

ร่างกายต้องการออกซิเจนทุกวินาที แต่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะส่งผลให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายน้อยลง ซึ่งจะส่งผลทำให้มีโอกาสเกิดโรคเหล่านี้มากกว่าคนปกติ 3 เท่า

– โรคความดันโลหิตสูง

– โรคหัวใจ

– โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต

– โรคซึมเศร้า

– โรคเบาหวาน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้