9 วิธี ช่วยให้นอนหลับสนิท ไม่เสี่ยงโรคร้าย

Last updated: 31 ต.ค. 2566  |  1784 จำนวนผู้เข้าชม  | 


pkhealthcare, OSA, SleepApnea, นอนกรน, หยุดหายใจขณะหลับ, นอนกรนหยุดหายใจ, CPAP, ResMed, ตัวแทนจำหน่ายResMed, ศูนย์บริการResMedประเทศไทย, ResMedประเทศไทย, เครื่องcpap, เครื่องcpapยี่ห้อไหนดี

9 วิธี ช่วยให้นอนหลับสนิท

การนอนหลับเพียงพอที่ทำได้ง่าย และช่วยให้นอนหลับสนิทมากขึ้น

  นอนหลับสนิท ชีวิตยืนยาว (Healthy Sleep, Healthy Aging)
เนื่องจากการนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้พักผ่อน ทำให้ระบบหัวใจ และ ไหลเวียนเลือดไม่ต้องออกแรงมาก เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
รวมถึงเป็นช่วงเวลาที่เกิดการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ปรับสมดุลของสารเคมีต่างๆ ตลอดจนเป็นระยะที่สมองทำการเรียบเรียงข้อมูล และจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ทำให้สมองเกิดการจดจำและมีพัฒนาการ

  หากนอนหลับไม่เพียงพอก็จะก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท การคิด ความจำ รวมไปถึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถ และอาจสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงานด้วย

 9 วิธี ช่วยให้นอนหลับสนิท 

  ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
  หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก อาหารที่มีรสเผ็ด รสจัด หรืออาหารหวานมาก ก่อนเข้านอน 4 ชั่วโมง เพราะร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง ในการย่อยอาหาร
  หลีกเลี่ยงกาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นประสาททุกชนิด 4 - 6 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน
  ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจก่อนนอนด้วยการอาบน้ำอุ่น เดินเบา ๆ ไปมา หรือการนั่งสมาธิ และไม่ควรทำกิจกรรมที่กระตุ้นร่างกายและสมองไปจนถึงเวลาเข้านอน
  จัดระเบียบห้องนอนและกำจัดสิ่งรบกวนด้วยการปิดไฟและอุปกรณ์ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ก่อนนอน แต่บางรายอาจจำเป็นต้องเปิดเพลงเบา ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศทำให้หลับสบายขึ้น
  เลี่ยงการสูบบุหรี่เพราะจะทำให้หลับยาก ตื่นบ่อย และฝันร้าย เนื่องจากผลของสารนิโคติน
  เข้านอนให้เป็นเวลา ไม่ควรนอนดึกมาก ควรเข้านอนเวลาประมาณ 21.00 – 23.00 น. และปฏิบัติให้เป็นประจำ รวมถึงตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวัน รวมทั้งช่วงวันหยุดด้วย
  เข้านอนเมื่อร่างกายพร้อมที่จะนอน คือเมื่อรู้สึกง่วง และไม่ได้อยู่ในภาวะตึงเครียด อย่าพยายามฝืนนอนหากไม่ง่วง
  หากพบปัญหานอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ติดต่อกันหลายคืนควรปรึกษาแพทย์ เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคนอนกรน โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA)

 การนอนหลับที่เพียงพอแต่ละช่วงวัยเป็นสิ่งสำคัญ 

  วัยผู้ใหญ่ อายุ 18 – 64 ปี ควรนอน 7 - 9 ชั่วโมง
  ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ควรนอน 7 – 8 ชั่วโมง

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก
จากหน่วยงาน กรมอนามัย ศูนย์สื่อสารสาธารณะ
วันที่ 14 มีนาคม 2562

นอนกรน, อาการนอนกรน, นอนกรนหยุดหายใจ, Sleep Apnea, OSA , Obstructive Sleep Apnea, หยุดหายใจขณะหลับ, pkhealthcare, CPAP, ResMed, ตัวแทนจำหน่าย ResMed, ศูนย์บริการ ResMed ประเทศไทย, ResMed ประเทศไทย, เครื่อง cpap, เครื่อง cpap ยี่ห้อไหนดี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้